วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557


ประวัติส่วนตัว


ชื่อ นายทัศน์พล เทียมวงศ์
มัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 6/2 เลขที่10
เกิดวันที่ 4 เดือน มกราคม พ.ศ.2539
ชอบสี เขียว ฟ้า และแดง
อาหารที่ชอบ ไข่เจียว ผัดกระเพรา
ผัดผัก และเนื้อย้างเกาหลี
นิสัย เป็นคนอารมณ์ดีง่ายๆ ไม่เรื่องมาก(สักเท่าไร)

ประวัติส่วนตัว


ชื่อ นายทัศพงษ์  บุรมโคตร  ชั้น ม.6/2  เลขที่ 11
เกิดเมื่อวันที่ 17 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2539
สีที่ชอบ สีฟ้า
อาหารที่ชอบ ทอดไข่,มาม่า
สัตว์เลี้ยงที่ชอบ สุนัข,กระต่าย
คติพจน์
รักไม่ยุ่ง มุ่งแต่เรียน..555+
ประวัติส่วนตัว


ชื่อ นาย เนติพงษ์ กองอรัญ
มัธยมศึกษาตอนปลาย ม.6/2 เลขที่ 13

วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557



ประวัติความเป็นมาของโปรแกรม Dreamweaver

Adobe Macromedia Dreamweaver
- ผู้พัฒนา อะโดบีซิสเต็มส์ (เริ่มพัฒนาโดย แมโครมีเดีย) 
- รุ่นเสถียร ล่าสุด CS4 (10.0) 
- รุ่นทดลอง ล่าสุด (27 มีนาคม พ.ศ. 2550) 
- โอเอส Windows Mac OS X 
- ชนิด โปรแกรมแก้ไข HTML 
- ลิขสิทธิ์ Closed source 
- เว็บไซต์ http://www.adobe.com/


อะโดบี ดรีมวีฟเวอร์ (Adobe Dreamweaver) หรือชื่อเดิมคือ แมโครมีเดีย ดรีมวีฟเวอร์ (Macromedia Dreamweaver) เป็นโปรแกรมแก้ไข HTML พัฒนาโดยบริษัทแมโครมีเดีย (ปัจจุบันควบกิจการรวมกับบริษัท อะโดบีซิสเต็มส์) สำหรับการออกแบบเว็บไซต์ในรูปแบบ WYSIWYG กับการควบคุมของส่วนแก้ไขรหัส HTML ในการพัฒนาโปรแกรมที่มีการรวมทั้งสองแบบเข้าด้วยกันแบบนี้ ทำให้ ดรีมวีฟเวอร์เป็นโปรแกรมที่แตกต่างจากโปรแกรมอื่นๆ ในประเภทเดียวกัน ในช่วงปลายปีทศวรรษ 2533 จนถึงปีพ.ศ. 2544 ดรีมวีฟเวอร์มีสัดส่วนตลาดโปรแกรมแก้ไข HTML อยู่มากกว่า 70% ดรีมวีฟเวอร์มีทั้งในระบบปฏิบัติการแมคอินทอช และไมโครซอฟท์วินโดวส์ ดรีมวีฟเวอร์ยังสามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ ผ่านโปรแกรมจำลองอย่าง WINEได้ รุ่นล่าสุดคือ ดรีมวีฟเวอร์ CS4


การทำงานกับภาษาต่างๆ ดรีมวีฟเวอร์ สามารถทำงานกับภาษาคอมพิวเตอร์ในการเขียนเว็บไซต์แบบไดนามิค ซึ่งมีการใช้ HTML เป็นตัวแสดงผลของเอกสาร เช่น ASP, ASP.NET, PHP, JSP และ ColdFusion รวมถึงการจัดการฐานข้อมูลต่างๆ อีกด้วย และในเวอร์ชันล่าสุด (เวอร์ชัน CS4) ยังสามารถทำงานร่วมกับ XML และ CSS ได้อย่างง่ายดาย


รุ่นต่างๆ 
Dreamweaver 1.0 (ธันวาคม ค.ศ. 1997) 
Dreamweaver 1.2 (มีนาคม ค.ศ. 1998) 
Dreamweaver 2.0 (ธันวาคม ค.ศ. 1998) 
Dreamweaver 3.0 (ธันวาคม ค.ศ. 1999) 
Dreamweaver UltraDev 1.0 (มิถุนายน ค.ศ. 2000) 
Dreamweaver 4.0 (ธันวาคม ค.ศ. 2000) 
Dreamweaver UltraDev 4.0 (ธันวาคม ค.ศ. 2000) 
Dreamweaver MX (พฤษภาคม ค.ศ. 2002) 
Dreamweaver MX 2004 (10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003) 
Dreamweaver 8 (13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005) 
Dreamweaver CS3
Dreamweaver CS4

ที่มาของข้อมูลและภาพ : http://pirun.ku.ac.th/~g5166298/lesson5.html


ความสามารถของโปรแกรม Dreamweaver

ในการเขียนเว็บเพจ จะมีลักษณะคล้ายกับการพิมพ์งานในโปรแกรม Text Editor ทั่วไป คือว่ามันจะเรียงชิดซ้ายบนตลอดเวลา ไม่สามารถย้าย หรือ นำไปวางตำแหน่งที่ต้องการได้ทันที่เหมือนโปรแกรมกราฟิก เพราะฉะนั้นหากเราต้องการจัดวางรูปแบบตามที่เราต้องการ ก็ใช้ตาราง Table เข้ามาช่วยจัดตำแหน่ง ซึ่งเมื่อมีการจัดวางรูปแบบที่ซับซ้อนมากขึ้น การเขียนภาษา HTML ก็ซับซ้อนยิ่งขึ้นเช่นกัน โปรแกรม Dreamweaver อาจจะไม่สามารถเขียนเว็บได้ตามที่เราต้องการทั้งหมด วิธีการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดคือ ควรจะเรียนรู้หลักการของภาษา HTML ไปด้วย ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับผู้ที่ต้องการประกอบอาชีพ Webmaster แบบจริงจัง อาจจะไม่ต้องถึงกับท่องจำ Tag ต่าง ๆ ได้ทั้งหมด แต่ขอให้รู้ เข้าใจหลักการก็พอแล้ว เพราะหลาย ๆ ครั้งที่เราจะเขียนเว็บใน Dreamweaver แล้วกลับได้ผลผิดเพี้ยนไป ไม่ตรงตามที่ต้องการ ก็ต้องมาแก้ไข Code HTML เอง และความสามารถของ Dreamweaver สรุปได้ดังนี้

1. สนับสนุนการทำงานแบบ WYSIWYG (What You See Is What You Get) หมายความว่า เว็บที่เราเขียนหน้าจอ Dreamweaver ก็จะแสดงแบบเดียวกับเว็บเพจจริงๆ ช่วยให้เราเขียนเว็บเพจง่ายขึ้น ไม่ต้องเขียน Code HTML เอง
2. มีเครื่องมือในการช่วยสร้างเว็บเพจ ที่มีความยืดหยุ่นสูง
3. สนับสนุนภาษาสคริปต์ต่างๆ ทั้งฝั่ง Client และ Server เช่น Java, ASP, PHP, CGI, VBScript
4. มีเครื่องมือในการ Upload หน้าเว็บเพจไปที่เครื่อง Server เพื่อทำการเผยแพร่งานที่เราสร้างในอินเทอร์เน็ต โดยการส่งผ่าน FTP หรือ โดยการใช้โปรแกรม FTP ภายนอกช่วย เช่น WS FTP
5. รองรับมัลติมีเดีย เช่น การใส่เสียง, การแทรกไฟล์วิดีโอ, การใช้งานร่วมกับโปรแกรม Flash , Fireworks 

ที่มาของข้อมูล : http://aster.spu.ac.th/

การใช้งานเบื้องต้น (สิ่งที่ควรทราบ) 


1. ภาษา HTML เป็นภาษาที่ออกแบบสำหรับการแสดงผลเท่านั้น! ไม่สามารถประมวลผล หรือ ใช้เขียนเว็บแอพพลิเคชั่นได้
2. หากต้องการเพิ่มลูกเล่น หรือ เทคนิคพิเศษ เช่น Effect ต่าง ๆ ต้องนำภาษา JavaScript มาเสริม HTML อีกที 
3. การจัดรูปแบบใน Code เช่นการขึ้นบรรทัดใหม่ การเว้นวรรค ไม่มีผลต่อการแสดงผลทาง Web Browser
4. การขึ้นบรรทัดใหม่ ต้องใช้ Tag หรือ กดปุ่ม Shift+Enter 
5. การขึ้นย่อหน้าใหม่ ต้องใช้ Tag

หรือ กดปุ่ม Enter
6. การเว้นวรรค ต้องใช้ Tag พิเศษ คือ   หรือ กดปุ่ม Ctrl+ Shift + Spacebar
7. หลักการอ่าน Tag ของภาษา HTML จะอ่านค่าจาก Tag ที่อยู่ด้านในก่อน
8. ไฟล์ HTML และ Script ต่างๆ สามารถเปิดแก้ไขในโปรแกรม Text Editor ทั่ว ๆ ไป ไม่จำเป็นต้องแก้ไขใน Dreamweaver เพียงอย่างเดียว
9. การแทรกข้อความ และ การปรับแต่งค่าต่าง ๆ ให้คลิกตำแหน่งที่ต้องการ แล้วพิมพ์ข้อความตามต้องการ หรือให้เลือกข้อความเมื่อต้องการกำหนดค่าต่าง ๆ เพิ่มเติม

ที่มาของข้อมูล : http://aster.spu.ac.th/
ส่วนประกอบต่างๆ ของโปรแกรม Dreamweaver



• แถบคำสั่ง (Menu Bar) เป็นแถบที่ใช้เก็บคำสั่งทั้งหมดของโปรแกรม
• แถบคำเครื่องมือ (Toolbar) รวบรวมปุ่มคำสั่งที่ใช้งานบ่อย
• แถบวัตถุ (Object Palette) เป็นกลุ่มเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการควบคุมวัตถุ บนชิ้นงาน เอกสารเว็บ เช่น เส้นกราฟิก (Horizontal Rule), ตาราง, รูปภาพ, เลเยอร์ (Layer)
• แถบแสดงสถานะ (Status Bar) คอยแสดงสถานะการทำงานต่างๆ ของเรา
• แถบควบคุมการทำงาน (Properties Palette) เป็นรายการที่ปรับเปลี่ยนได้ ตามลักษณะการเลือกข้อมูล เช่น หากมีการเลือกที่จะพิมพ์ หรือแก้ไขเนื้อหา รายการก็จะเป็น ส่วนทำงานที่เกี่ยวกับอักษร, การจัดพารากราฟ ถ้าเลือกที่รูปภาพ รายการในแถบนี้ ก็จะเป็นคำสั่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับ การควบคุมเรื่องรูปภาพ
• ส่วนของ Panel Group เป็นกลุ่มของแถบเครื่องมือที่สามารถเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ง่ายในการสร้าง Application บนอินเทอร์เน็ต เช่น การแทรก Code ของ JavaScript และ VBScript ลงในเว็บเพจได้อย่างง่ายๆ โดยสามารถเรียกใช้งานได้จาก Panel Group 

ที่มาของข้อมูล : http://aster.spu.ac.th/

หน้าจอแสดงผล (Document Windows)


Show Code View เป็นหน้าต่างที่ให้แสดงเฉพาะโค้ด HTML ของหน้าเว็บเพจที่ กำลังทำงาน
Show Code and Design View เป็นหน้าต่างที่แสดงทั้งโค้ด HTML และหน้าเว็บเพจที่กำลังทำงาน
Show Design View ให้แสดงแต่หน้าเว็บเพจไม่ต้องแสดงโค้ด HTML



หน้าจอการแสดงผล 



Show Code View



Show Code and Design View




Show Design View



การสร้างเว็บเเพจ ด้วย Dreamweaver CS6





ความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับ Dreamweaver

1.เป็นภาษาที่ออกแบบสำหรับการแสดงผลเท่านั้น! ไม่สามารถประมวลผล หรือ ใช้เขียนเว็บแอพพลิเคชั่นได้
 2.โปรแกรมนี้จะทำการแปลงรหัสคำสั่งให้เป็นภาษา HTML โดยอัตโนมัติ ดังนั้น ผู้ใช้ที่ไม่มีความรู้ ด้านนี้ก็สามารถทำได้ มีแถบเครื่องมือหรือแถบคำสั่งที่ใช้ในการควบคุมการทำงาน แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ จึงช่วยใน การทำงานที่ดีขึ้นและรวดเร็วยิ่งขึ้น
3.เป็นโปรแกรมที่สามารถสร้างเว็บไซต์ได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว